วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT



จุดแข็ง (Strengths)
-เป็นสินค้าส่งออกสำคัญชนิดหนึ่งของไทย ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่ม
-การปฏิบัติงานในทุกรูปแบบของผลิตภัณฑ์ทั้งในต่างประเทศ

จุดอ่อน (Weaknesses)
·       
-      - สินค้าและผลิตภัณฑ์นำเข้าตลาดในฝรั่งเศสไม่มากเท่าไร
-การผลิตสินค้าไม่ค่อยได้มาตรฐาน
โอกาส (Opportunities)

  -ประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นเมืองที่มีผู้คนจำนวนมากและการค้าขายกับฝรั่งเศสจึงมีอนาคต

อุปสรรค (Threats) 

-ประเทศไทยมีรายรับจากการส่งออกสินค้าน้อยกว่ารายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้า จึงเกิดการขาดดุลการค้าของประเทศในจำนวนมาก

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความการส่งออก

ประเทศฝรั่งเศส : ไทยกับฝรั่งเศสได้ติดต่อค้าขายกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ปริมาณการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบันฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 6ของไทย ส่วนไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของฝรั่งเศสเป็นลำดับที่ 3ในกลุ่มอาเซียนรองจากสิงคโปร์และมาเลเซียในช่วงปี2541-2544การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ย1,823.9ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราขยายตัวเฉลี่ยลดลงร้อยละ 2.8สำหรับในปี 2545การค้ารวมมีมูลค่า1,662.52ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุล 21.22ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2546การค้ารวมมีมูลค่า 1,948.5ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 46.1ล้านดอลลาร์สหรัฐการค้ารวมมีมูลค่า998.5ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 154.6ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออก ในช่วงปี 2541-2544การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย863.2ล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราขยายตัวเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.4สำหรับในปี 2545การส่งออกมีมูลค่า 820.64ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ1.93 สำหรับปี 2546การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย 648.1ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของสินค้าส่งออกสำคัญของประทศของไทยไปฝรั่งเศสได้แก่ สินค้าแปรรูป ผักผลไม้ และอาหารแห้ง เป็นต้น การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 960.5ล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราขยายตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2สำหรับในปี 2545การนำเข้ามีมูลค่า841.87ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากระยะเดียวกันการนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 647.4ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของสินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากฝรั่งเศส ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและการค้าทั้งของฝรั่งเศสและของสหภาพยุโรป ซึ่งบางครั้งไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าระหว่างประเทศซึ่งในทางปฏิบัติ ฝรั่งเศสมักจะเข้มงวดตรวจสอบมากกว่า ประเทศสมาชิกสหภาพฯ อื่นๆอย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ผู้ส่งออกไทยต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยต้องให้ความสำคัญและเข้มงวดกวดขันเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทย สินค้าเข้าถึงตลาดฝรั่งเศสการที่จะเสริมสร้างให้เกิดเป็น New Brand จะแทรกเข้าไปในตลาดยุโรปนั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเรื่องการวิจัยและพัฒนาในการที่จะสร้างความแตกต่างและการประชาสัมพันธ์ผ่าน Mediaต่างๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และจะต้องมีระบบการตลาดที่เป็น Global Niche Market และที่สำคัญ กฎเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ บอกได้เลยว่ามีความยุ่งยากมาก อย่างไรก็ดี ประเทศต่างๆ ของฝรั่งเศสและในยุโรปตะวันตกที่เป็นที่หนึ่งของโลก เมื่อสินค้าไทยเข้าไปสู่ฝรั่งเศสก็สามารถกระจายเข้าไปในประเทศต่าง ๆ ในเวลาที่รวดเร็ว

http://iam.hunsa.com/bbim6621/article/3654

http://www.thaismefranchise.com/?p=11774

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


ประเทศฝรั่งเศส
ลักษณะด้านภาษาของชาวฝรั่งเศส


ภาษาฝรั่งเศส : เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุดเป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกสภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11ของโลกโดยเมื่อปีพ.ศ.2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาภาษาแม่ (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ128 ล้านคน และภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่างๆโดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการและภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆโดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการของประเทศตั้งแต่ปีพ.ศ.2535รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการสัญญาต่างๆและการโฆษณาประชาสัมพันธ์การศึกษาจะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส

              แหล่งที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/18897
 

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



ประเทศ ฝรั่งเศส

ลักษณะด้านภาษาของชาวฝรั่งเศส
  
       ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน  ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น
ภาษาฝรั่งเศส  (ฝรั่งเศส: français, อังกฤษ French) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาภาษาแม่ (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และ สหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย
ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง  นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก Langued'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl
ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่   นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ คือ "คำปฏิญาณแห่งทรัสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385 ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่างๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส
   ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา     ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาราชการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส

ความแตกต่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
    การค้าระหว่างประเทศ คือ การแลกเลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรืส่งออกนอกประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้าและมาตรฐานการครองชีพประชาชนนั้นจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลนั้นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น        
   การตลาดระหว่างประทศ คือ เป็นกระบวนการทางสังคมและการจัดการ ซึ่งบุคคลและกลุ่มบุคคลได้รับสิ่งตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของเขาจากการสร้างและการแลกเปลี่ยนสินค้าและลูกค้าโดยทั้งโลก โดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศ และคู่แข่งขันต่างประเทศ

 แหล่งที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/18897

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

[ กลยุทธ์การแนะนำลูกค้า ]

     
     เป็นการทำธุรกิจแบบระยะสั้นเป็นครองใจลูกค้า ในระยะยาว โดยเฉพาะ แบรนด์ที่ด้อยคุณภาพซึ่งมักถูกมองว่าเป็นธุรกิจที่เห็นแก่ตัว จึงทำให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่พยายามที่จะสร้างแนวคิดใหม่เพื่อครองใจลูกค้าในระยะยาวเห็นได้จากองค์กรสมัยใหม่ที่ต้องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ได้ให้ความสำคัญกับการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและรักษ์โลกมากขึ้น จึงทำให้เกิดแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ธุรกิจหันมาใส่ใจกับการทำงานหรือผลิตภัณฑ์สินค้าที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การกำหนดกลยุทธ์ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ทั้งการคืนกำไรสู่สังคม รวมทั้งการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมให้สามารถตอบสนองความสุขของผู้บริโภค
    ทั้งหมดที่กล่าวในข้างต้นนั้น สามารถเห็นได้ชัดถึงแนวคิดแบบดั้งเดิม ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงมาใช้แนวคิดสมัยใหม่ในการบริหารธุรกิจให้ยั่งยืน ทั้งนี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคม และสามารถครองใจลูกค้าในระยะยาว ซึ่งสามารถนำเอาแนวคิดต่าง ๆ เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจได้
    
 - การสร้างความน่าเชื่อถือ สินค้าและบริการทุกประเภทจำเป็นต้องได้รับความน่าเชื่อถือจากลูกค้าจึงจะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ โดยเฉพาะการทำธุรกิจยุคใหม่ต้องใส่ใจเรื่อง ดังกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากความน่าเชื่อถือที่ดี ๆ จะแพร่สะพัดได้อย่างรวดเร็วพอ ๆ กับความไม่น่าเชื่อถือของแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง นั่นหมายความว่า การสร้างความน่าเชื่อถือจะต้องเกิดขึ้นและต้องรักษาให้อยู่คู่กับธุรกิจอย่างยั่งยืน
ตัวอย่าง   เช่น คนไทยส่วนใหญ่มีมุมมองที่คล้าย ๆ กันก็คือ เชื่อและชื่นชมหมอว่าเป็นคนดี (ที่จริงแล้วหมอไม่ดีก็มีให้เห็น) แต่เมื่อคนเชื่อไปแล้วจึงเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ที่หมอเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือมีหุ้นส่วนก็มักจะได้รับความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ เป็นต้น

 - การรักษาและป้องกัน     งานวิจัยจากสำนักต่าง ๆ ทั่วโลกได้ระบุตรงกันว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และลูกค้ากลุ่มนี้ก็ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ หากต้องการครองใจลูกค้ากลุ่มนี้อย่างยาวนาน จะต้องนำเสนอความแตกต่างในเรื่องสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ในการเยียวยาและช่วยรักษา ที่สำคัญจะต้องเน้นเรื่องการป้องกันหลังจากที่รักษาหายแล้ว แบรนด์ใดก็ตามที่กำลังเน้นเรื่องการตลาดเพื่อสุขภาพ จะต้องไม่ลืมว่าการป้องกันมิให้ลูกค้าต้องกลับมาเผชิญกับปัญหาเดิม ๆ อีก จะสามารถซื้อใจได้ในระยะยาวเลยทีเดียวสินค้าอื่น ๆ

 - การสร้างแบรนด์ความจริงข้อหนึ่งที่นักการตลาดไม่สามารถปฏิเสธได้เลยก็คือ ยังมีผู้บริโภคคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อมั่นในสินค้าไทย ปัญหานี้ไม่เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการเลย จึงต้องให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับ โดยจะต้องชูจุดเด่นในเรื่องของคุณภาพที่สมดุลกับราคา รวมทั้งการกำหนดกลยุทธ์การตลาดเพื่อให้คนกลับมาซื้อซ้ำ

 - สร้างหุ้นส่วนทางธุรกิจ การขายสินค้าและบริการอย่างโดดเดี่ยวอาจไม่เป็นผลดีนัก โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ตลาดแข่งขันสูง การมีพันธมิตรทางธุรกิจอาจไม่มีเพียงพอต่อความอยู่รอด ดังนั้นหากสามารถทำให้ลูกค้าสัมผัสได้ถึงความเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ แม้ว่าจะเป็นเพียงหุ้นส่วนทางพฤตินัย เช่น การให้สิทธิพิเศษสำหรับการแนะนำลูกค้ารายใหม่ แล้วทำให้ได้รับผลตอบแทนตามสัดส่วนที่กำหนด หรือแม้แต่กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายผู้บริโภคก็จะทำให้เกิดการบริโภคในปริมาณมากขึ้น เป็นต้น
ไม่ใช่เฉพาะที่ดิฉันนำเสนอในฉบับนี้เท่านั้นที่จะสามารถครองใจลูกค้าในระยะยาว แต่ยังมีกลยุทธ์อื่น ๆ อีกมากมายที่จะทำให้ลูกค้าอยู่กับคุณไปอีกนาน ต้องรีบค้นหาด่วนว่าการตลาดรูปแบบใดเหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง

       แหล่งที่มา :   http://www.ksmecare.com/news_popup.aspx?ID=7520